วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทเรียนวันที่  08-07-2012
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต  อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)


ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา 

     - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต( prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell) 
     - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม
 สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ 
     1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta) 
     2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)


อาณาจักรสิ่งมีชีวิต  อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)
        Ernst Haeckelนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ ค้นพบว่าสิ่งมีชวิตมีลักษณะทั้งพืชและสัตว์อยู่ในตัวเอง จึงทำให้นักพฤกษศาสตร์จัดไว้ในอาณาจักรพืช และนักสัตววิทยาก็จัดไว้ในอาณาจักรสัตว์ ทำให้เขาไดเสนอชื่อ protista จึงทำให้แยกสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีลักษณะของพืชหรือสัตว์ อย่างชัดเจน ออกจากอาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ แล้วตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ ชื่อ "อาณาจักรโปรติสตา" 

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา 
     1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) 
     2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย 
     3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer) 
     4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ 
     5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้ 
     6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ไฟลัม คือ 
     1. ไฟลัมโพรโทซัว (Phylum Protazoa) 
     2. ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta) 
     3. ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta) 
     4. ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta) 
     5. ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta) 
     6. ไฟลัมไพรโรไฟตา (Phylum Pyrrophyta) 
     7. ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta) 
     8. ไฟลัมยูไมโคไฟตา (Phylum Eumycophyta) 
     9. ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta) 

 อาณาจักรสัตว์ (kingdom animal)
             เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์
1. เซลล์แบบยูคาริโอต (eukaryotic cell) คือเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ในไซโทพลาสซึมมีออร์แกนเนลล์ต่างๆ กระจายอยู่
2.ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์เรียกว่าเซลล์สัตว์ทำให้เซลล์มีลักษณะอ่อนนุ่มและแตกต่างไปจากเซลล์พืชเซลล์เหล่านี้จะทำหน้าที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างซึ่งพบว่าเซลล์ในเนื้อเยื่อมักมีขนาดและรูปร่างเหมือนกันมีการประสานการทำงานระหว่างกัน  สัตว์ชั้นสูง 
3.สร้างอาหารเองไม่ได้เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์
4.เคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต
5.สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าไดอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระบบประสาท
           สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์แบ่งเป็น 9ไฟลัม
1.ไฟลัมพอริฟอรา เช่นฟองน้ำ
2.ไฟลัมซีเลนเทอราตา เช่น ปะการัง
3.ไฟลัมนีมาโทดาเช่น หนอนตัวกลม
4.ไฟลัมอาร์โทรโพดา เช่น กิ้งกือ
5.ไฟลัมคอร์ดาตา เช่น ปลาปากกลม
6.ไฟลัมเอชิโนเดอร์มาตา
7.ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส เช่น พยาธิตัวแบน
8.ไฟลัมมอลลัสกา
9.ไฟลัมแอนนิลิดา

อาณาจักรสิ่งมีชีวิต ตอน อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)

     พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจาสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น มีการสร้างคิวติน (cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิวของลำต้นและใบเรียกว่า คิวทิเคิล (cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นต้น 

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช
   

     พืชมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์ที่มารวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างเซลล์ของพืชมีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบ เซลลูโลส (cellulose) เป็นองค์ประกอบที่พบเป็นส่วนใหญ่ พืชทุกชนิดที่คุณสมบัติที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากระบวนการสังเคราะห์ด้วยเสง โดยบทบาทของรงควัตถุคลอโรฟิลล์ (chlorophyll a & b) ที่อยู่ในคลอโรพลาสต์เป็นสำคัรงควัตถุหลักที่พบได้ในเซลล์พืชจะเหมือนกับพบในเซลล์ของสาหร่ายสีเขียว ได้แก่ คลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้พืชยังสะสมอาหารในรูปของแป้ง

            อาณาจักรสิ่งมีชีวิต ตอน อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)
 สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ประกอบด้วย รา เห็ด และยีสต์ 

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ 

     1. เซลล์เป็นแบบ Eucaryotic cell มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส 
     2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย 
     3. ผนังเซลล์เป็นสารไคตินกับเซลลูโลส 
     4. มีทั้งเซลล์เดียวและเป็นเส้นใยเล็ก เรียกว่าไฮฟา (Hypha) รวมกลุ่ม เรียกว่าขยุ้มรา (mycelium) ลักษณะของเส้นใยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 
          4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (Septate hypha) 
          4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (Nonseptate hypha or coencytic hypha) tarch) ส่วนยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แต่อาจมีการต่อกันเป็นสาย เรียกว่า Pseudomycelium 

เส้นใยของฟังไจอาจเปลี่ยนแปลงแปลงรูปร่างเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ได้แก่ 
     Haustorium เป็นเส้นใยที่ยื่นเข้าเซลล์โฮสต์ เพื่อดูดอาหารจากโฮสต์ พบในราที่เป็นปรสิต 
     Rhizoid มีลักษณะคล้ายรากพืชยื่นออกจากไมซีเลียม เพื่อยึดให้ติดกับผิวอาหารและช่วยดูดซึมอาหารด้วย เช่น ราขนมปัง 





















































 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น